มุมสุขภาพตา : #FLACs

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION
โรคต้อกระจก เป็นอย่างไร?
โรคต้อกระจก เป็นอย่างไร? ต้อกระจก (Cataract)      เป็นโรคที่มีความขุ่นลงของเลนส์ตา ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากเป็นความเสื่อมไปตามวัยของเลนส์ตาเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่นอุบัติเหตุ หรือเป็นมาแต่กำเนิดก็ได้ อาการเริ่มแรกคือจะมองเห็นค่อยๆมัวลงช้าๆ คล้ายมีหมอกมาบัง โดยไม่มีความเจ็บปวด อาจเริ่มมีการรบกวนต่อชีวิตประจำวัน เช่น ต้องอาศัยแสงสว่างมากในการจะมองให้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาโดยมีสายตาสั้นมากขึ้น การขับรถในตอนกลางคืนจะลำบากมากขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนได้ เช่น ต้อหิน หรือม่านตาอักเสบ ทำให้มีอาการปวดตาและตาอักเสบ การมองเห็นปกติ การมองเห็นเมื่อมีต้อกระจก   การรักษาต้อกระจก      นั้นทำได้โดยวิธีผ่าตัดโดยเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์เทียมเข้าไปทดแทน วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบขึ้นกับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันวิธีการผ่าตัดพัฒนาก้าวหน้ามาก ใช้เวลาไม่นานราว 30 นาที โดยฉีดยาชาเฉพาะที่หรือใช้เพียงยาชาชนิดหยอด ทำเสร็จกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่น ultrasound และดูดเอาเลนส์ออกผ่านแผลขนาดเล็กเพียง 3 มม.และใส่เลนส์เทียมชนิดพับได้เข้าไปแทนเลนส์เดิม แผลมีขนาดเล็ก มักไม่จำเป็นต้องเย็บแผล และอาการเคืองตามีเพียงเล็กน้อย   การสลายต้อกระจากด้วยคลื่น ultrasound ผ่านแผลขนาดเล็ก การใส่เลนส์เทียมหลังสลายต้อกระจก        เลนส์เทียมที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายชนิด ทั้งชนิดมาตรฐานซึ่งเป็นเลนส์พับอย่างดี (Monofocal) ให้การมองไกลได้ชัดเจนแต่มักต้องใส่แว่นเพื่อมองใกล้ชัด หรือเลนส์ชนิดชัดหลายระยะ (Multifocal) ซึ่งมองเห็นได้ทั้งไกลและใกล้ได้โดยลดการพึ่งพาแว่นสายตายาวได้มากกว่า การดูแลหลังผ่าตัดคือ รับประทานยาและหยอดยาตาแพทย์สั่ง ห้ามตาโดนน้ำหลังผ่าประมาณ 2 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไอ เบ่ง และมาตรวจตาตามที่แพทย์นัด
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line