มุมสุขภาพตา : #Eye Test

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
เราวัดความสามารถในการมองเห็นได้อย่างไร?
เราวัดความสามารถในการมองเห็นได้อย่างไร? หลักของการวัดความสามารถในการมองเห็น (Principle of Visual Acuity Test)      ยึดหลักสำคัญคือ ขนาดของภาพที่ปรากฎที่จอตา (Retinal image size) ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุ (Object size) และระยะห่างจากลูกตา (distance) ซึ่งมีผู้ประดิษฐ์แบบวัดสายตาขึ้นโดยอาศัยหลักการดังกล่าวเป็นแผ่นป้ายมาตรฐานที่นิยมใช้กันคือ แผ่นป้ายสเนลเลน (snellen chart) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขขนาดต่างๆ      นอกจากนั้นยังมี reduced snellen charts หรือเรียกกันทั่วไปว่า Near cards ซึ่งใช้วัดสายตาในระยะใกล้ (near vision) โดยให้ผู้เข้าวัดสายตาถือแผ่น near cards อ่านในระยะห่าง 14 นิ้ว นิยมใช้วัดสายตาสำหรับผู้ที่เริ่มมีสายตายาวตามอายุ คือตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการวัดสายตานั้น จะต้องมีการตรวจวัดสายตาเบื้องต้นก่อนทุกครั้ง ดังนั้นในการเตรียมสถานที่วัดสายตาจะต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างแผ่นป้ายกับผู้เข้ารับการตรวจวัด 20 ฟุต หรือ 6 เมตร    หากอ่านได้ค่า 20/20 ความว่าอย่างไร      20 ตัวแรก หมายถึง ระดับความสามารถที่ผู้เข้ารับการตรวจวัดสามารถอ่านตัวเลขหรือตัวอักษรจากมาตรฐานของ Snellen Chart ได้ครบทุกตัว เมื่ออยู่ห่างจากแผ่นชาร์ทที่ระยะ 20 ฟุต (ตัวเลขนี้มักจะไม่เปลี่ยนแปลง จะเป็นตัวเลข 20 เสมอ)      20 ตัวหลัง หมายถึง ระดับความสามารถที่คนปกติสามารถอ่านตัวเลขหรือตัวอักษรจากมาตรฐานของ Snellen Chart ได้ครบทุกตัว เมื่ออยู่ห่างจากแผ่นชาร์ทที่ระยะ 20 ฟุต (ตัวเลขนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามความสามารถในการมองเห็นของแต่ละคน ยิ่งตัวเลขนี้มีจำนวนมากเท่าไร ก็แสดงว่าระดับความสามารถในการมองเห็นยิ่งไม่ดีเท่านั้น)
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line