มุมสุขภาพตา : #Diet

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา
มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxznthin)      วิตามินที่เราได้ยินบ่อยๆสำหรับการบำรุงสายตาก็คือวิตามินเอ แต่มีสารอาหารที่ควบคู่กันไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตาก็คือ สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) นั่นเอง      ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้หลายชนิด เป็นสารในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ และพบได้ในบริเวณดวงตา ตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพของตา สารอาหารประเภทนี้จะทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลายด้วยพืชผักที่มีสารลูทีนและซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขม ข้าวโพด ฟักทอง ผักกาด เป็นต้น   ช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้      ประโยชน์ของลูทีนและซีแซนทีนนั้น จะสามารถช่วยลด ป้องกันหรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้ เพราะกลไกการเกิดต้อกระจก เกิดจากการเสื่อมของอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคต้อกระจก และในการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคอาหารที่มีสารอาหารจำพวกลูทีนและซีแซนทีนช่วยลดการเกิดโรคต้อกระจกได้จริง   ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคจุดรับภาพเสื่อม        โรคจุดรับภาพเสื่อม คือ ภาวะการเสื่อมของจุดรับภาพ (Mocular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอบิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา ประโยชน์ของลูทีนและซีแซนทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม โดยพบว่าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม และความเสี่ยงจะเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลงหากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก
อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก      เด็กในวัยเจริญเติบโตช่วง 3-10 ขวบ ผู้ปกครองควรดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อที่สายตาของเด็กจะได้ไม่เสื่อมสภาพ ควรเลือกรับประทานปลาที่มีหลังสีฟ้า เช่น ปลาซันมิ หรือปลาแมกเคอเรล (Mackerel) หรืออาจะเป็นปลาที่รับประทานได้ทั้งก้างเช่น ปลาแอนโชวี (Anchovy) หรือปลาทะเลเนื้อขาว เช่น ปลาพอลล็อกแช่แข็ง (Frozen Pollock) ปลาจวด (Croaker) ในแต่ละมื้ออาหารควรรับประทานปลาประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกันไป รับประทานสาหร่ายทะเลมากกว่าสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ผักใบเขียววันละ 100 กรัม ส่วนผลไม้ ควรรับประทานอย่างน้อยวันละหนึ่งชนิด ดื่มนมวันละหนึ่งแก้วขึ้นไป หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ด และขนมขบเคี้ยว ที่มีส่วนประกอบของเกลือและน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา       อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ ไข่แดง เนย เนยแข็ง ชีส แครอท ผักโขม     อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม นม ผลิตภัณฑ์จากนมและเนย ปลาที่รับประทานได้ทั้งก้าง สาหร่ายทะเล ปาปริก้า โสม มะเขือเทศ ผักโขม     อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของดวงตา ไข่ ถั่ว ปลาที่มีหลังสีฟ้า เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ     อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยปรับโครงสร้างการทำงานของดวงตา กะหล่ำปลี ผักกาดหอมห่อ ผลไม้ หัวไช้เท้า     อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ต้นอ่อนของพืช มันฝรั่ง ผลิตภัณฑ์จำพวกไขมันและน้ำมัน
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line