มุมสุขภาพตา : #ตรวจตา

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
การตรวจตาก่อนทำเลสิกคืออะไร ทำไมต้องตรวจถึง 3 ชั่วโมง?!!
การตรวจตาก่อนทำเลสิกคืออะไร ทำไมต้องตรวจถึง 3 ชั่วโมง?!! การตรวจตาก่อนทำเลสิกคืออะไร ทำไมต้องตรวจถึง 3 ชั่วโมง?!!      แน่นอนว่าคำตอบก็คือเพื่อการมองเห็น หลังการรักษาด้วยเลสิกที่ดีที่สุดของคนไข้ แต่ทำไมถึงต้องใช้เวลานานถึง 3 ช.ม. นั่นก็เป็นเพราะว่าที่ Laser Vision เรามีการซักถามประวัติของคนไข้ที่ค่อนข้างละเอียด อีกทั้งยังมีเครื่องมือทันสมัยอีกหลายอย่างที่จะช่วยตรวจวัดการมองเห็น เพิ่มข้อมูลให้กับแพทย์ในการวินิจฉัย ออกแบบ และเลือกการวิธีการทำเลสิก เพื่อคุณภาพการมองเห็นที่ชัดเจนที่สุดให้กับคุณ โดยจะเเบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้   ขั้นตอนที่ 1 การซักประวัติคนไข้      ในการเข้ารับการผ่าตัดเลสิก เบื้องต้นทีมบุคลากรทางการแพทย์จะให้คนไข้กรอกแบบฟอร์ม และ ซักประวัติคนไข้ เพื่อตรวจเช็คว่าคนไข้ที่ต้องการทำเลสิกมีการทานยารักษาโรคหรือเคยมีประวัติโรคบางชนิดที่อาจจะที่ส่งผลหรือเป็นข้อห้ามในการผ่าตัดเลสิกหรือไม่ เพื่อที่จะได้ประเมินเบื้องต้นว่าคนไข้ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินสภาพตาอย่างละเอียด เพื่อทำเลสิกต่อ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10 – 20 นาที    ขั้นตอนที่ 2 การตรวจประเมินสายตาอย่างละเอียด      โดยเริ่มต้นด้วยการ การวัดระดับการมองเห็นเบื้องต้นมีการตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Auto Refractometer ตรวจวัดระดับความดันในลูกตาด้วยเครื่อง IOP แบบใช้ลมเป่า  ตรวจวิเคราะห์ความโค้งความหนาของกระจกตาด้วยเครื่อง Pentacam ตรวจความแข็งแรงของกระจกตาด้วยเครื่อง Corvis  หลังจากนั้น จะมีทั้งการตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นของดวงตาแต่ละข้างโดยนักทัศนมาตร หลังจากนั้นจะมีการตรวจวัดตรวจค่าความเพี้ยนในการรวมแสงระดับสูงด้วย OPD Scan เป็นขั้นตอนสุดท้าย อาจมีคนไข้บางท่านจำเป็นที่จะต้องมีการลองแว่นตา เพื่อให้คนไข้ได้ทดลองใช้สายตาที่จะเกิดขึ้นคล้ายกับผลของค่าสายตาหลังการรักษา โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีค่าสายตามยาวร่วมกับสายตาสั้นด้วย ขั้นตอนทั้งหมด นี้อาจจะใช้เวลาในแต่ละท่านแตกต่างกันโดยประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของคนไข้เอง   ขั้นตอนที่ 3 การตรวจประเมินสายตาอย่างละเอียดหลังขยายม่านตา      เจ้าหน้าที่จะทำการวัดค่าต่างๆ ทั้งหมดอีกครั้งเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบก่อนและหลังม่านตาขยาย เป็นการคอนเฟิร์มและให้เห็นความแตกต่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยจะมีการวัดซ้ำในขั้นตอนที่ 2 ทั้งหมด อีกครั้ง   ขั้นตอนที่ 4 พบจักษุแพทย์      ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเข้าพบกับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยจักษุแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษเพื่อตรวจดูสุขภาพของลูกตาทั้งภายในและภายนอก หลังจากนั้นจะอธิบายสภาพการมองเห็นในปัจจุบันและสุขภาพลูกตาของคนไข้ การมองเห็นหลังการทำเลสิก นอกจากนี้ยังแพทย์มีการสอบถามไลฟ์สไตล์ของคนไข้แต่ละท่านและแนะนำข้อจำกัดของการทำเลสิกในแต่ละประเภท รวมไปถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติหลังทำเลสิกอีกด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำเลสิก ที่นำไปสู่ผลลัพธ์ของการมองเห็นที่ชัดเจนและดีที่สุดของคนไข้
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line